หนูโดนหลอกว่าเป็นริดสีดวง
หนูโดนหลอกว่าเป็นริดสีดวง
สำหรับผู้ที่เป็นริดสีดวงแล้วรักษาไม่หายสักที ปวดก้นอยู่ตลอด เราอยากแนะนำให้ท่านรู้จัก “แผลปริขอบทวาร” โรคที่วินิจฉัยผิดว่าเป็นริดสีดวงบ่อยที่สุด เนื่องจากทั้งสองโรคนี้ มีติ่งเนื้อบริเวณทวาร, ถ่ายเป็นเลือดสดหยดตามอุจจาระ และมีภาวะท้องผูกเป็นปัจจัยกระตุ้นเหมือนกันทั้งคู่ การซักประวัติเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถแยกทั้งสองโรคนี้ออกจากกันได้
แผลปริขอบทวาร (Anal fissure) สาเหตุหลักเกิดจาก ท้องผูกและกล้ามเนื้อหูรูดหดเกร็ง ทำให้เกิดการฉีกขาดบริเวณขอบรูทวาร ซึ่งหากเป็นเรื้อรัง ก็จะพบติ่งเนื้อบริเวณใกล้ๆแผลปริที่ขอบทวาร (Sentinel pile) ซึ่งเกิดจากความพยายามของร่างกายที่จะซ่อมแซมแผลนั่นเอง ทีนี้เรามาดูจุดสำคัญที่ใช้ในการแยก แผลปริขอบทวาร กับ ริดสีดวง กันครับ
1. อาการปวด ริดสีดวงทวารมักจะปวดเฉพาะช่วงเวลาที่เบ่งถ่าย หลังจากนั้นจะค่อยๆดีขึ้น ยกเว้น ริดสีดวงที่มีการแข็ตัวของเลือดที่อยู่ภายใน (thrombose hemorrhoid) อาจจะมีอาการปวดตลอดเวลา แต่ แผลปริขอบทวารนั้น ทุกครั้งที่ถ่าย หากเบ่งแรง กล้ามเนื้อหูรูดหดตัวอาจดึงรั้งทำให้แผลฉีก ทำให้โรคนี้เด่นในเรื่องของอาการปวด อาจมีเลือดออกจากแผลที่ฉีกได้ หลังถ่ายก็ยังคงปวด เพียงแค่นั่งทับโดนบริเวณติ่งเนื้อ (ซึ่งอยู่ใกล้ๆแผลนั่นแหละ) ก็ปวด
2.การตรวจร่างกาย ริดสีดวงเป็นภาวะที่เกิดจากเส้นเลือดดำโป่งพองบริเวณรูทวาร ติ่งเนื้อจะมีลักษณะนิ่ม,ขอบเรียบ พอเอานิ่วกด มักจะยุบลงได้ (ยกเว้น thrombose hemorrhoid ที่จะเป็นก้อนแข็งและกดเจ็บ) แต่ แผลขอบทวารเรื้อรัง หากกดบริเวณติ่งเนื้อ จะเจ็บมาก และจุดที่สำคัญที่สุดคือ ใกล้ๆกับติ่งเนื้อหากมองดูดีๆจะพบแผลฉีกขาดขนาดเล็กนั่นเอง
นอกจากริดสีดวง หรือ แผลปริที่ขอบทวารเรื้อรังแล้ว ก็ยังมีภาวะอื่นๆอีก ที่มาด้วยติ่งเนื้อที่รูทวารและปวดทวาร เช่น เนื้องอกบริเวณลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย เป็นต้น ดังนั้นจึงควรพบแพทย์ที่มีความชำนาญ เพื่อจะได้วินิจฉัยอย่างถูกต้อง นำไปสู่การรักษาที่ถูกต้องต่อไป
โดยปกติจะรักษาโดยการให้ยาระบาย ให้ผู้ป่วยถ่ายคล่อง เมื่อไม่เบ่งถ่ายแรงๆ แผลก็จะไม่ฉีกเพิ่ม และแผลก็จะค่อยๆดีขึ้น จนหายสนิท แต่กรณีที่ผู้ป่วยที่มีกล้ามเนื้อหูรูดบริเวณปากทวารหดเกร็ง ทำให้มีการฉีกขาดของแผลแบบเรื้อรัง รักษาด้วยยาแล้วไม่ดีขึ้นก็จำเป็นต้องทำการรักษาโดยการผ่าตัดแก้ไขกล้ามเนื้อหูรูดบริเวณปากทวาร (sphincterotomy)
1.การรักษาโดยใช้ยา ผู้ป่วยกว่า90% สามารถหายได้โดยไม่จำเป็นต้องผ่าตัด โดยมีการรักษาดังนี้
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันการเกิดริดสีดวงทวารซ้ำ เช่น รับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เพื่อช่วยในการขับถ่าย ดื่มน้ำให้เพียงพอ, ไม่เบ่งถ่ายอุจจาระแรง, หลีกเลี่ยงการยกของหนัก, ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
นั่งแช่น้ำอุ่นประมาณ 15 นาที วันละ 2-3 ครั้ง จะช่วยบรรเทาอาการปวดและคันบริเวณทวารหนัก
การใช้ยาเหน็บหรือยาทา ยาเหน็บหรือยาทาจะช่วยบรรเทาอาการปวด คัน และอักเสบ
2.รัดยางริดสีดวง เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการมาก การรัดยางจะเห็นผลการรักษาได้ไวกว่า ทั้งนี้สามารถใส่เครื่องมือเข้าทางทวาร และทำการรัดยางได้ที่คลินิกเลย โดยหลังทำอาจจะมีอาการปวดหน่วงก้น ประมาณ3วัน
3.การรักษาด้วยการผ่าตัด มักใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง หรือ รักษาแบบไม่ผ่าตัดไม่ได้ผล แต่มีข้อเสียคือ ผู้ป่วยจะฟื้นตัวช้า และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด ทั้งนี้สามารถปรึกษาแพทย์ที่คลินิก เพื่อแนะนำแนวทางการรักษาที่เหมาะสม
หากคุณมีข้อสงสัยเพิ่มเติมหรือต้องการคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ กรุณาติดต่อคลินิกของเราได้ที่
คลินิกหมอเมธัส โทร : 082-656-3726 facebook : คลินิกหมอเมธัส สงขลา